Skip to main content

 
 
 

Soap

✒ สบู่:



⦾ เราใช้สบู่ในการชำระล้างร่างกายในทุกวัน ยิ่งปัจจุบันนี้เชื้อโรคและโรคภัยเกิดใหม่อย่างรวดเร็ว การทำความสะอาดนั้นเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก เราจึงควรศึกษาและรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ที่เราเลือกใช้ ประเภท คุณสมบัติ และความแตกต่างกันอย่างไร เราจะมาจำแนกตามลักษณะ สบู่ออกเป็น 2 ประเภท คือ สบู่ก้อน และสบู่เหลว โดยยังแบ่งย่อยออกไปอีกด้วยการผลิต เป็น สบู่ออกแกนิค สบู่สกัดจากธรรมชาติ และสบู่สังเคราะห์


สบู่ก้อน สบู่เหลว

สบู่ (Soap)

          เราจะยก " สบู่ก้อน " มาอธิบายคุณลักษณะและความแตกต่างกันของการผลิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้รู้เรื่องสบู่ที่เรานำมาใช้ในทุกวัน เนื่องจากปัจจุบันการโฆษณาเกี่ยวกับ สบู่ มีมากมาย ทั้งเน้นว่า สูตรธรรมชาติ 100% หรือเป็นสบู่ออแกนิคผลิตจากธรรมชาติ ปลอดภัยใช้ได้ ทั้งผิวหน้าและผิวกาย รวมทั้งมีผลปรับผิวขาว กระจ่างใส  รักษา ฝ้า กระ ซึ่งเอาจริงๆ การอาบน้ำเพื่อชำระล้างร่างกายเราใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที น่าจะไม่ช่วยส่งผลเท่าไรนัก แต่อาจกลับกันผลของการใส่สารสกัดหรือสารเคมีภัณฑ์เหล่านั้น อาจทำให้เกิดการระคลายเคืองหรือเกิดสารเคมีตกค้างและสะสมทำให้เป็นผลเสียต่อผิวและสุขภาพในระยะยาว ยิ่งเฉพาะคนที่ใช้สบู่ที่มีคุณสมบัติตามการโฆษณาชวนเชื่อแล้วใช้เวลาในการอาบน้ำนานกว่า 30นาทีโดยเคลือบสบู่ลงบนผิวแล้วทิ้งไว้เพื่อหวังผลของคุณสมบัติเหล่านั้น 

สบู่ก้อน แบ่งย่อยออกเป็น 2 แบบ

1.) สบู่ก้อนธรรมชาติ เราจะแบ่งย่อยออกไปอีกเป็น 2 แบบ คือ สบู่ออแกนิค และสบู่สกัดจากธรรมชาติ เนื่องจากการผลิตที่แตกต่างกันเล็กน้อย โดยยังคงมีการใช้สารเคมีภัณฑ์และสารสกัดจากสมุนไพร พืชธรรมชาติ ซึ่งไม่ได้มากจากธรรมชาติ 100% แต่เป็นสารสกัดและสารเคมีระดับเครื่องสำอางค์ ซึ่งไม่ส่งผลเสียหรือเป็นอันตรายต่อผิวกาย 

1.1) สบู่ Organic (ออแกนิค) :  ผลิตจากไขมันพืชหรือไขมันสัตว์ กับ น้ำด่างจากน้ำขี้เถ้าหรือน้ำเกลือจากธรรมชาติบางชนิด และแต่งเติมคุณสมบัติจาก สมุนไพร พืชธรรมชาติ แต่งกลิ่นด้วยน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ (Essential Oil) คำว่า สบู่ออแกนิค นั้นหมายถึงกระบวนการผลิต วัตถุดิบ และ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยวิถีธรรมชาติในรูปแบบเกษตรอินทรีย์เท่านั้น และไม่ใช่ระบบการผลิตที่พึ่งพาการใช้สารเคมี ฮอร์โมน หรือปุ๋ยเคมีใดๆ จึงจะได้ผลผลิตเป็นสบู่ก้อน และสามารถใช้คำว่า สบู่ออแกนิค หรือสบู่ธรรมชาติ 100% ได้ รูปร่างของสบู่ออแกนิคมักไม่เรียบเนียน สีมักเป็นสีธรรมชาติ ไม่มีสีสันสวยงามมากนัก ฟองสบู่จะน้อยมากหรืออาจไม่มีเลย ปราศจากสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและชำระล้างแบบอ่อนโยน ไม่ทำให้ผิวแห้ง แดง พร้อมให้ความชุ่มชื้นกับผิวทำให้ผิวคืนสภาพโดยธรรมชาติด้วยตัวเอง จึงแทบไม่ต้องกังวลว่าผิวจะแพ้เพราะสบู่ออแกนิค ไม่มีสารเคมีผสมอยู่ เป็นการผลิตจากธรรมชาติในแหล่งเกษตรอินทรีย์ที่ใช้ผลิตสบู่บำรุงผิว จึงจะเรียกว่า สบู่ออแกนิค

1.2) สบู่สกัดจากธรรมชาติ : ผลิตจากไขมันพืชหรือไขมันสัตว์ กับ น้ำด่างโซดาไฟหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เรียกว่า กระบวนการเกิดสบู่ (Saponification) ได้ผลผลิตเป็นสบู่หรือกลีเซอรีน (Glycerin) การแต่งสีอาจเลือกใช้สีจากวัถุดิบธรรมชาติหรือสีสังเคราะห์อย่างสีผสมอาหาร สีที่ใช้ในเครื่องสำอางค์ แต่งเติมคุณสมบัติอาจเลือกสารสกัดสังเคราะห์ หรือสารสกัดจากธรรมชาติ และการแต่งกลิ่นอาจเลือกน้ำหอมสังเคราะห์ (fragrance) หรือน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) ซึ่งเหตุนี้จึงไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นสบู่จากธรรมชาติได้ 100% เพราะยังคงมีการผลิตด้วยสารสกัดและสารเคมีภัณฑ์อยู่ จึงควรเรียกว่า สบู่สกัดจากธรรมชาติ นั้นหมายถึงว่า กระบวกการผลิตยังคงเลือกสรร คัดคุณสมบัติ สารสกัดจากธรรมชาติและสารเคมีภัณฑ์ในระดับเครื่องสำอางค์ ที่ปลอดภัย รูปร่างของสบู่เรียบเนียนสวยงาม รูปทรงทำได้หลายรูปแบบ แต่งสีสันได้หลากหลาย ฟองระดับกลางถึงมาก กลิ่นหอมเลือกได้มากกว่า

กระบวนการผลิตมี 2 เทคนิค คือ แบบกวนเย็น และแบบกวนร้อน ขั้นตอนของแต่ละเทคนิคอาจแตกต่างกันไป ก่อนที่จะเริ่มให้รวบรวมส่วนผสมให้เรียบร้อยก่อนตามสูตรของแต่ละคน และจำเป็นต้องเตรียมอุปกรณ์นิรภัย เช่น แว่นตา ถุงมือ และเสื้อแขนยาว เนื่องจากน้ำด่างไม่ว่าจะมาจากธรรมชาติหรือสารเคมีภัณฑ์ ก็ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงสุดในการจัดการเพื่อความปลอดภัย

- สบู่แบบกวนเย็น (Cold Process Soap) : กระบวนการนี้เป็นการผสมทำให้เกิดปฎิกิริยากันแล้ว หลังเทสบู่ลงแม่พิมพ์ จะต้องบ่มสบู่ต่ออีกประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ เพื่อให้ความเป็นด่านที่มีค่าสูงลดลงจนค่าด่างหายไปทั้งหมดไม่หลงเหลือตกค้างอยู่ในเนื้อสบู่ เทคนิคนี้เนื้อสบู่จะเรียบเนียนและแข็งกว่าแบบกวนร้อน สามารถปรับแต่งรูปทรง รูปร่างได้ง่าย และสร้างสรรค์สวดลายที่สวยงามได้หลากหลายกว่า

- สบู่แบบกวนร้อน (Hot Process Soap) : กระบวกการนี้เป็นการใช้ความร้อนเร่งปฎิกิริยากันทำให้สามารถใช้สบู่ได้ทันทีหลังจากเทสบู่ลงแม่พิมพ์ แค่ 3 ชั่วโมง หรือ 24 - 48 ชั่วโมง เทคนิคนี้เนื้อสบู่จะไม่เรียบเนียนนักและมีความแข๊งน้อยกว่าแบบกวนเย็น ไม่สามารถสร้างสรรค์ลวดลายได้มากนัก แต่ใช้เวลาบ่มสบู่สั้นกว่า

          ดังนั้นทุกครั้งควรอ่านส่วนประกอบบนฉลากผลิตภัณฑ์ ส้งเกตุบนฉลากของสบู่ ถึงแม้จะมีรายการวัถุดิบไม่มากหรือไม่ละเอียดมากนัก แต่ทุกรายการจะระบุด้วยชื่อสากลทางเครื่องสำอางค์ (International nomenclature for cosmetic ingredients) ย่อว่า INCI Name ตามด้วยระเบียบ อย. ซึ่งเป็นการบอกส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์

2.) สบู่สังเคราะห์ แบ่งย่อยออกเป็น 2 แบบ คือ สบู่กลีเซอรีสำเร็จรูปหรือสบู่หลอมเท และสบู่โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการผลิตแบบจำนวนเยอะๆ รวดเร็ว แปรรูปง่าย สะดวก 

2.1) สบู่กลีเซอรีสำเร็จรูป หรือสบู่หลอมเท (Melt and Pour) : เป็นการทำสบู่ที่ง่ายที่สุดและเป็นที่นิยมกันมาก และยังเป็นสบู่ที่ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นสบู่ธรรมชาติ หรือมักกล่าวขึ้นเอง ด้วยเพราะได้ผสมสมุนไพรหรือสารสกัดสมุนไพรลงไป รูปลักษณ์ภายนอกของเนื้อสบู่ชนิดนี้มีทั้งแบบใสและแบบขุ่น วิธีการทำคือนำเบสสบู่สำเร็จรูปมาหลอมละลาย แล้วเติมสารสกัดต่างๆที่ต้องการ เติมกลิ่นน้ำหอม แต่งสีสันที่ต้องการลงไป แล้วจากนั้นก็เทลงแบบแม่พิมพ์ที่ต้องการ แต่งลวดลายได้หลากหลาย ออกแบบรูปทรงได้ง่าย และรอให้แข็งขึ้นรูปเป็นก้อนอีกครั้ง 

          การจะสังเกตุหรือการแยกแยะว่าสบู่นั้นเป็นสบู่สกัดจากธรรมชาติหรือสบู่สังเคราะห์ มักจะทำได้ยากหากมองด้วยตา ยิ่งสบู่นั้นเป็นแบบขุ่น แต่จะทำได้ง่ายหากสบู่นั้นเป็นแบบใส ด้วยการมองผ่านเนื้อสบู่แบบใสแล้วเห็นลายนิ้วมือผ่านหลังก้อนสบู่ได้ นั้นคือสบู่เบสสำเร็จรูปแน่นอน

2.2) สบู่โรงงานอุตสาหกรรม : เป็นสบู่ที่พบมากในท้องตลาด ผลิตได้เป็นจำนวนมาก และราคาไม่แพง สามารถหาซื้อได้ง่าย ขั้นตอนการทำจะผสมไขมันกับด่างด้วยความร้อนในหม้อตุ๋นขนาดใหญ่ระหว่างนั้นจะเกิดปฎิกิริยากระบวนการเกิดกลีเซอรีน หลังจากนั้นเครื่องจักรจะคอยกวาดกลีเซอรีนที่เกิดขึ้นออกจนหมด เพื่อนำไปจำหน่ายหรือใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีราคามากกว่า ส่วนกากที่เหลือจากการถูกกวาดเอากลีเซอรีนออกหมดแล้วจะถูกนำมาอัดเป็นก้องเล็กๆ เรียกว่า Soap chip ซึ่งนำไปใส่เครื่องผสมกับน้ำหอมและอัดออกมาเป็นก้อน กลายเป็นสบู่โรงงานอุตสาหกรรม สบู่เหล่านี้อาจมีการเติม สารเพิ่มฟอง สารชำระล้าง สารกันเสีย สารกันหืน สารสกัดต่างๆ หรือบางครั้งก็อาจเติมสารกลีเซอรีนกลับเข้าไป แล้วจึงนำไปจำหน่ายในราคาที่ไม่แพง รูปทรงสวยงามน่าใช้

          เช่นนี้การสังเกตุจากส่วนประกอบบนฉลากมักเป็นชื่อสารเคมี ชื่อของน้ำมันจะไม่อยู่ในรูป Oil แต่มักจะเป็นสารประกอบที่ซับซ้อน พร้อมทั้งมักจะเจอชื่อสารเคมีที่อ่านยากและยาว

   สบู่ยังคงจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่การถือกำเนิดของสบู่ในศตวรรษที่ 28 ประมาณปี 2800 ก่อนคริสตกาล เราก็ยังคงใช้สบู่ในการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากร่างกายและเสื้อผ้าเครื่องใช้อื่นๆ รวมทั้งพัฒนาให้มีคุณสมบัติดีมากยิ่งขึ้น

  |  HOME⏎  |  ARCHIVE  |  GUESTBOOK  |