Skip to main content

 
 
 

Nutrition During Pregnancy

✒ คุณแม่ตั้งครรภ์

⦾ การเตรียมตัวเป็นคุณแม่ในอนาคต ร่างกายของคุณแม่จะต้องสมบูรณ์เพื่อเตรียมสำหรับการตั้งครรภ์ไม่ควรขาดสารอาหารใดๆ เวลาเฉลี่ยของการตั้งครรภ์ อยู่ 280 วัน หรือ 40 สัปดาห์ ช่วงเวลานี้จึงเป็นเวลาที่คุณแม่สามารถมอบพลังงานที่ดีให้กับลูกน้อยได้ตั้งแต่อยู่ในท้อง พลังที่ดีไม่ว่าจะเป็นความคิด อารมณ์ โภชนาการ ซึ่งไหลผ่านรกเข้าสู่ร่างกาย สมอง จิตใจ ของลูกน้อยในครรภ์ และเรื่องอาหารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพของคนเราโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์  สารอาหารสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของสมองของทารก ได้แก่



  • โปรตีน พบมากในเนื้อสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง ผลิตภัณฑ์นมและไข่ หากขาดจะทำให้การเจริญเติบโตของทารกไม่เป็นปกติ การพัฒนาสมองไม่สมบูรณ์
  • แร่ธาตเหล็ก พบมากในเลือด ตับ เนื้อสัตว์ ไข่ หากขาดจะทำให้คุณแม่เป็นโลหิตจางมีผลกระทบต่อการพัฒนาสมองของทารก
  • ไอโอดีน พบมากในอาหารทะเล เกลือเสริมไอโอดีน หากคุณแม่ขาดจะทำให้การพัฒนาสมองทารกผิดปกติ ทารกเกิดมาเป็นโรคเอ๋อ ปัญญาอ่อน หูหนวก เป็นใบ้ การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน
  • วิตามินโฟเลท พบมากในตับ และผักใบเขียว เช่น กุ่ยช่าย หน่อไม้ฝรั่ง คุณแม่ตั้งครรภ๋ต้องการโฟเลทเพื่อการสร้างเซลล์สมองของทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงระยะครรภ์ไตรมาสแรก
  • แคลเซียม เป็นตัวสร้างความเจริญเติบโตและการพัฒนาการสร้างกระดูกในครรภ์คุณแม่ อาหารที่มีแคลเซียมมาก ได้แก่ นมและผลิตภัณพ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อย


แนะนำการเลือกรับประทานอาหาร

  1. เนื้อสัตว์ต่างๆ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับเนื้อสัตว์ให้พอเพียงในทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ชนิดใดก็ได้ แต่ไม่ควรติดหนัง
  2. ไข่เป็ดหรือไข่ไก่ ควรรับประทานทุกวัน ประมาณวันละ 1 ฟอง นอกจากจะมีโปรตีนมากแล้วยังมีธาตุเหล็กและวิตามินเอ มากอีกด้วย
  3. นมสดและผลิตภัณฑ์จากนม มีโปรตีนสูงและมีแคลเซียมที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี ถ้าไม่สามารถดื่นนมได้อาจจะดื่มเป็นนมถั่วเหลืองแทน แต่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ ไข่ หรือถั่วเมล็ดแห้งให้มากขึ้น
  4. ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆและผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ เป็นต้น ถั่วเมล็ดแห้ง (Bean) คือ ถั่วเปลือกอ่อน เมล็ดอยู่ในฝัก มีสีสันหลากหลาย ส่วนใหญ่มีเมล็ดลักษณะเหมือนรูปไต เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งมีใยอาหารสูง ช่วยในการขับถ่าย ลดการดูดซึมไขมันและชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งควรรับประทานสลับกับเนื้อสัตว์ และรับประทานเป็นประจำ
  5. ข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ถ้าหากรับประทานเป็นข้าวซ้อมมือจะทำให้ได้วิตามินบี 1 และกากใยเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยป้องกันอาการเหน็บชาและลดอาการท้องผูกได้
  6. ผักและผลไม้ต่างๆ ควรรับประทานให้หลากหลายตามฤดูกาล และต้องรับประทานผลไม้หลังอาหารทุกมื้อหรือรับประทานเป็นอาหารว่างทุกวัน ผักและผลไม้เป็นแหล่งอาหารที่ให้วิตามิน เกลือแร่ และกากใยที่ดีมาก นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบขับถ่ายสะดวกมากขึ้นและช่วยไม่ให้ท้องผูก
  7. ไขมันหรือน้ำมัน ควรเลือกน้ำมันที่ได้จากพืชเพราะไม่มีโคเลสเตอรอลและยังมีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย อธิเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ

แนะนำในการปฎิบัติตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายทุกวัน และงดอาหารหมักดอง
  2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ประเภทแอลกอฮอล์ ยาดอง เหล้า ทุกชนิด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
  3. งดอาหารรสจัด ได้แก่ หวานจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด
  4. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำงานหนักจนเกินไป
  6. ออกกำลังกายพอประมาณ
  7. กินยาบำรุงตามแพทย์สั่งเท่านั้น สำหรับยาอื่นๆควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  8. เมื่อมีอาการผิดปกติใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  9. งดการสูบบุหรี่



แหล่งที่มาของบทความ: - ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ตั้งครรภ์แล้วต้องฝากครรภ์

คุณแม่จำเป็นต้องฝากครรภ์ทันทีเมื่อรู้ตัว เลือกโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานและใกล้บ้าน เดินทางสะดวก เครื่องมือครบ งบประมาณไม่บานปลาย เพื่อการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ป้องกันอาการและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทัน



  |  HOME⏎  |  ARCHIVE  |  GUESTBOOK  |